
ลิวคีเมียคือมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยเกิดจากความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก โดยตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวที่สร้างขึ้นมาเพิ่มจำนวนอย่างไม่มีขีดจำกัด โดยไม่สามารถเจริญเป็นตัวแก่
นอกจากนี้ยังไปขัดขวางการสร้างเม็ดเลือดตามปกติ
ระบบเลือดในร่างกายเป็นอย่างไร
เลือดประกอบด้วย ของเหลวที่เรียกว่า พลาสมา
และเซลล์สามชนิดซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันไป ตามลำดับดังนี้
เซลล์เม็ดเลือดขาว
(White Blood Cells) ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรค โดยเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้นมีหลายชนิดแตกต่างกัน
โดยอาจแบ่งตามการสายการผลิตได้เป็นใหญ่ๆ 2 สาย
สาย lymphoid lineages ซึ่งจะสร้างระบบภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
เช่น B-cells, T –cells, Natural
killer cells, Dendritic cells เป็นต้น
สาย Myeloid
lineages ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับระบบป้องกันและการอักเสบ เช่น Monocytes,
Macrophages, Dendritic cells, Granulocyte เป็นต้น
เซลล์เม็ดเลือดแดง
(Red Blood Cells) ทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกายและนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายไปยังปอด
เกล็ดเลือด
(Platelets) ทำหน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือดและควบคุมเลือดออก
(bleeding)
เซลล์เม็ดเลือดดังกล่าวข้างต้นถูกสร้างที่ไขกระดูก (Bone Marrow) เซลล์ปกติที่อยู่ในไขกระดูกจะพัฒนาจากเซลล์ตัวอ่อน
(Immature cells) ไปเป็นเซลล์ตัวแก่
(Mature cells)ที่พร้อมจะออกจากไขกระดูก สำหรับเซลล์เม็ดเลือดบางกลุ่มนั้นจะยังคงอยู่ในไขกระดูกเพื่อเติบโตต่อไป บางกลุ่มนั้นอาจออกไปเติบโตที่ส่วนอื่นของร่างกาย เซลล์เม็ดเลือดจะมีการผลิตมากขึ้นเมื่อร่างกายต้องการ
อย่างเช่นในภาวะติดเชื้อ หรือภาวะโลหิตจาง
ลิวคีเมียแบ่งออกเป็นกี่ชนิด
ถ้าแบ่งตามความเร็วในการเติบโตของเซลล์ ลิวคีเมียจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
ชนิดเรื้อรัง และชนิดเฉียบพลัน
ถ้าแบ่งตามลักษณะของเซลล์และการเติบโตของเซลล์ลิวคีเมียจะแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
ชนิดเฉียบพลันแบบไมอีลอยด์ (Acute Myeloid Leukemia — AML) สามารถพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
ชนิดเรื้อรังแบบไมอีลอยด์ (Chronic Myeloid Leukemia — CML) พบได้ในผู้ใหญ่ แต่ไม่ค่อยพบในเด็ก
ชนิดเฉียบพลันแบบลิมฟอยด์ (Acute Lymphoid Leukemia — ALL) สามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี
รวมถึงในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีอีกด้วย
ชนิดเรื้อรังแบบลิมฟอยด์ (Chronic Lymphoid Leukemia — CLL) สามารถพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 55 ปี และสามารถพบในเด็กได้บ้าง แต่ไม่ค่อยส่งผลกระทบเท่าไหร่
แล้วอาการเป็นอย่างไรสำหรับอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน คือ จุดเลือดออกตามผิวหนัง จ้ำเลือดตามตัว เหงือกโต
เหนื่อยง่ายจากโลหิตจาง ติดเชื้อง่าย
ส่วนอาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง คือ ตับโต ม้ามโต เม็ดเลือดขาวจะมีปริมาณสูงมากอาจถึง 4-5 แสน/ลบ.ซม. (คนปกติจะมีเม็ดเลือดขาวประมาณ 5,000-10,000/ลบ.ซม.) ซึ่งการตรวจที่เรียกว่า Complete Blood Count (CBC) หรือ
การตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ถือว่าเป็นการตรวจที่สำคัญซึ่งจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของเม็ดเลือดเบื้องต้น
ส่วนการตรวจเพื่อยืนยันว่าเป็นมะเร็งทำได้โดยการเจาะไขกระดูก
และการตรวจพิเศษชนิดอื่นๆ
วิธีการรักษา
วิธีแรก การเปลี่ยนถ่ายไขกระดูก
วิธีที่สอง การรับประทานยาเคมีบำบัด เช่น ไฮดรอกซียูเรีย บูซัลฟา
วิธีที่สาม การใช้ยาฉีดอินเทอร์เฟียรอน
วิธีที่สี่ รับประทานยากลุ่มใหม่ที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อสาเหตุการเกิดโรค
เช่น ยาอิมมาตินิบ ยานิโลตินิบ ยาดาซ่าทินิบ
วิธีการปฏิบัติตัวรักษาสุขภาพให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ทำจิตใจให้สบาย อดทน อย่าวิตกกังวล
แหล่งที่มา
การบรรยายพิเศษโดย พันเอก รศ. นพ. วิเชียร มงคลศรีตระกูล ในงานฉลองครบรอบ 4 ปีโครงการจีแพปในประเทศไทย